Solution การทำสติกเกอร์รถยนต์ (Car wrap)
ด้วยเครื่องสแกน 3 มิติ

Home / Article / Solution การทำสติกเกอร์รถยนต์ (Car wrap) ด้วยเครื่องสแกน 3 มิติ

car wrap solution
(สแกนเก็บข้อมูลสามมิติ เพื่อการทำ Car wrap)

ปัญหาส่วนใหญ่ในขณะนี้ที่พบในอุตสาหกรรมทำสติกเกอร์รถยนต์คือ เมื่อสั่งตัดออกมาแล้วขนาดไม่พอดี, ใช่ระยะเวลาในการทำงานนาน, รุ่นของสติกเกอร์รถยนต์ที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมกับงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ด้วยการนำ Solution การสแกน 3 มิติด้วยเครื่องสแกน 3 มิติ

• เริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูล 3 มิติด้วยเครื่องสแกน 3 มิติ

ขั้นตอนแรกในการทำสติกเกอร์รถยนต์ (Car wrap) คือการเก็บข้อมูล 3 มิติของบริเวณที่ต้อง การทำสติ๊กเกอร์รถยนต์ (Car warp) ซึ่งสแกนเนอร์ 3 มิติสามารถเก็บได้ครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก โดยใช้เทคนิคในการสแกนแตกต่างกันออกไปในแต่ละจุดที่ต้องการ โดยมีตัวอย่างการทำงานของเครื่องสแกนรุ่น EinScan HX ดังต่อไปนี้

1. ติดมาร์กเกอร์และสแกนที่ชิ้นงานที่ต้องการด้วยเครื่องสแกน 3 มิติรุ่น EinScan HX

เครื่องสแกนแต่ละรุ่นมีระบบที่แตกต่างกันออกไป โดยในทีนี้เราเลือกใช้เครื่องสแกนรุ่น Einscan HX เพราะเป็นเครื่องสแกนระบบเลเซอร์แสงสีฟ้าสามารถสแกนภายนอกรถยนต์ที่ทำจากวัสดุสะท้อนแสงได้เป็นอย่างดีไม่ต้องพ่น สเปรย์แป้งเพิ่ม และเริ่มต้นจากการติด Marker เป็นขั้นตอนแรก

scanning process in car wrap solution
(ภาพตัวอย่างการทำงานของเครื่องสแกนรุ่น Einscan HX)

2. เปลี่ยนไฟล์ Point-Cloud ที่ได้จากการสแกนให้กลายเป็น Mesh ไฟล์

เมื่อสแกนเสร็จสิ้นข้อมูลที่ได้รับจากเครื่องสแกนจะมาในลักษณะของข้อมูลจุด (Point-Cloud) เล็ก ๆ ต่อกันนับล้าน ซึ่งระยะห่างระหว่างจุดนั้นขึ้นอยู่กับค่าความละเอียด (Resolution) ที่เราตั้งในตอนแรก ซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับเครื่องสแกนจะเปลี่ยนไฟล์สแกน (Point-Could) ที่ได้จากเครื่องสแกนให้เป็น Mesh

changing Point Cloud to Mesh
(ภาพตัวอย่าง การทำงานของซอฟต์แวร์เครื่องสแกน 3 มิติในการเปลี่ยน Point-Cloud เป็น Mesh)

• เปลี่ยนไฟล์สแกน 3 มิติที่ได้จากเครื่องสแกน 3 มิติให้เป็นไฟล์ 2 มิติ (2D Drawing)

เป็นขั้นตอนสำคัญที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามไปคือการเปลี่ยนไฟล์สแกน 3 มิติที่ได้จากเครื่องสแกน 3 มิติให้ กลายมาเป็นไฟล์ 2 มิติ (2D Drawing) ที่สามารถสั่งตัดได้ หลาย ๆ คนยังเข้าใจผิดว่าเมื่อซื้อเครื่องสแกน 3 มิติก็จะสามารถได้เส้นและนำมาใช้ได้เลย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะไฟล์สแกน 3 มิติที่ได้จากเครื่องสแกน 3 มิติ จะต้องนำมาแปลงให้เป็นไฟล์ 2 มิติที่สามารถใช้งานต่อไปด้วยซอฟต์แวร์ออกแบบ ดังขั้นตอนต่อไปนี้

1. ส่งต่อไฟล์สแกนที่ได้เข้าสู่โปรแกรมแปรงไฟล์เป็น 2 มิติ (Quick Surface)

โดยจะสังเกตว่าไฟล์สแกน 3 มิติที่ได้จากเครื่องสแกนจะเป็นไฟล์ Mesh ที่มีลักษณะเป็น 3 เหลี่ยมเล็ก ๆ ต่อกันเมื่อ Zoom ลงไปดูในรายละเอียด ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้และยังเป็นไฟล์ 3 มิติไม่ใช่ 2 มิติ ทำให้เราต้องนำไปปูผิวใหม่บนซอฟต์แวร์ออกแบบก่อน

2. เปลี่ยนไฟล์สแกน 3 มิติที่ได้จากเครื่องสแกนให้เป็นสเก็ตซ์ 2 มิติ ด้วยซอฟต์แวร์ Quick Surface

เราเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Quick Surface เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการทำ Reverse Engineering เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่าย เหมาะแก่การทำ Reverse Engineering ซึ่งในปัจจุบันได้มีการร่วมมือกับเครื่องสแกนของ Shining (บริษัทผู้ผลิตเครื่องสแกน 3 มิติ) ปล่อยซอฟต์แวร์ที่ทำงานร่วมกันโดยใช้ชื่อว่า “EXmodel” ออกมาทำให้การส่งต่อไฟล์เป็นไปได้อย่างรบรื่นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถ Up-wrap ผิว Surface ออกมาใช้งานได้อีกด้วย

3. ส่งเส้น 2 มิติที่ได้ไปใช้งานต่อในเครื่องตัดฟิล์ม, สติกเกอร์

หลังจากทำการ Up-wrap บน ซอฟต์แวร์เสร็จสิ้น ผู้ใช้จะได้เส้นที่สามารถส่งออกไฟล์ไปใช้งานต่อได้เลย สำหรับการตัดวัสดุตามแต่ความประสงค์ของการใช้งาน

สำหรับผู้ที่สนใจซอฟต์แวร์ หรือบริการที่เกี่ยวข้อง

บจก.สแกนเนอร์สสามมิติ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องสแกนสามมิติในประเทศไทยมาเป็นเวลากว่า 20 ปี บริษัทฯ มีวิศวกรและทีมงานผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำปรึกษาในการเลือกซื้อเครื่องสแกน ที่เหมาะสมต่อการใช้งานของลูกค้าแต่ละท่าน อีกทั้งยังให้คำแนะนำและจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ออกแบบที่รองรับกับงานสแกน ทั้ง CAD/CAM/CAE รวมถึงให้บริการรับจ้างสแกนในและนอกสถานที่ และรับออกแบบไฟล์สามมิติ และกัดงาน CNC แบบครบวงจร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Picture of Sorasakon
Sorasakon

3DS Content Writer.

Share

Facebook
Twitter
Email
LinkedIn
WhatsApp